การแสดงพระธรรมเทศนา จากหนังสือ “พระสมเด็จ”

ท่านเจ้าคุณพระธรรมอุดม (ถึก) ผู้ร่วมกันสร้างวัดใหญ่ทองเสนนั้น เป็นพระนักเทศน์ที่สำคัญองค์หนึ่งหน้าพระที่นั่งในรัชกาลที่ 4 ขณะนั้น ท่านเป็นรองเจ้าอาวาส วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ซึ่งมีสมเด็จพระหมสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสเป็นเจ้าอาวาส

สำหรับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) นั้นเป็นพระที่ได้รับการนับถือยกย่องจาก พุทธศาสนิกชนทั้งหลายว่าเป็นผู้ทรางคุณวุฒิในด้านพระปริยติธรรมวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมด้วย ดังนั้น เจ้าคุณพระธรรมอุดม (ถึก) ผู้ร่วมสร้างวัดใหญ่ทองเสน (วัดใหม่ทองเสน) ด้วยกัน ก็คงเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนนี้เช่นเดียวกัน จึงมีความเข้าใจกันดีและทั้งคู่ก็เป็นพระคู่เทศน์ต่อหน้าพระที่นั่งในรัชกาลที่ 4 ด้วยกัน ขณะนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) ดำรงสมณศักดิ์ เป็นพระธรรมกิตติ ส่วนพระมหาถึง ดำรงสมณศักดิ์เป็น พระธรรมอุดม (ถึก) ทั้งสองท่านดำรงสมณศักดิ์อยู่ในระดับเดียวกัน

จึงใคร่ขอนำเอาข้อความบางตอนที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) ได้เทศน์คู่ (ปุจฉา วิสัชนา) กับพระธรรมอุดม (ถึก) ต่อหน้าพระที่นั่งในรัชกาลที่ 4 มาลงไว้ ซึ่งเป็นข้อความคัดมาจากหนังสือ “พระสมเด็จ” เรียบเรียงโดย “ตรียัมปวาย” และได้พิมพ์ไว้ในหนังสือประวัติวัดใหม่ทองเสนเมื่อ พ.ศ. 2513 ดังนี้

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้นเป็นพระธรรมกถึกชั้นเยี่ยมรูปหนึ่ง ท่านมีคารมโวหารคมคายประกอบด้วยปฏิภาณอันฉับไว ในการตอบโต้ปัญหาธรรมสากัจฉา และมีลีลาในการแสดงธรรมได้หลายนัย ซึ่งนับว่าพิเศษพิสดารกว่าพระธรรมกถึกรูปอื่นๆ อยู่มาก

สำหรับการแสดงธรรมในพระบรมมหาราชวังนั้นโดยปกติสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จะเสด็จออกทรงธรรม ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเสมอ พระที่นั่งนี้อยู่ภายในกำแพงพระบรมมหาราชังเป็นทั้งท้องพระโรง สำรับเสด็จออกรับทูตานุทูต และออกขุนนางตามปกติ นอกจากนี้ก็โปรดให้นิมนต์ สมเด็จพระราชาคณะต่างๆ ผลัดเวรกันเข้าถวายพระธรรม และมีอยู่บ้างที่ทรางกริ้วพระเถระบางรูปที่ถวายพระธรรมเทศนาไม่แนบเนียน เช่น การถอดบาลีไม่ถูกต้อง บางครั้งถึงกับบ่นว่า “อย่างนี้ฉันเทศน์เองยังดีกว่า” แต่กับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ แล้วพระองค์ไม่เคยทรางบริภาษเลย มีแต่ทรางพระราชศรัทธา และทรางโสมนัสเจริญ พระราชหฤทัย จากการสดับพระธรรมจากเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยิ่งถ้าเป็นการเทศน์ธรรมสากัจฉาด้วยแล้ว มักจะทรงอาราธนาเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) กับเจ้าคุณพระธรรมอุดม(ถึก) วัดพระเชตุพนฯ หรือไม่ก็กับพระพิมลธรรม (จี่) วัดประยูรวงศาวาส อันเป็นพระธรรมกถึกเอกที่เรืองนามยิ่งนักและการแสดงพระธรรมเทศนามีทั้งในพระบรมมหาราชวังและที่ต่างๆ จึงขอประมวลมาเป็นบางเรื่องบางตอนดังนี้

พายเถอะหนาพ่อพาย

ในสมัยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต หรพมรสี) ยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมกิตติ ได้รับนิมนต์เข้าไปถวายพระธรรมเทศนาปุจฉาวิสัชนาคู่กับพระธรรมอุดม (ถึก) ซึ่งท่านเจ้าคุณพระธรรมอุดม (ถึก)นี้ มีปฏิภาณโวหารและลีลาเทศนาชั้นสูง เป็นที่ครั่นคร้ามแก่บรรนักเทศน์ทั้งหลายในสมัยนั้น และการถวายพระธรมในวันนั้น พระธรรมอุดม(ถึก) เป็นพระสกวาที หรือ องค์ปุจฉา ส่วนพระธรรมกิตติ (เจ้าพระคุณสมเด็จฯ) เป็นพระปรวาที หรือองค์วิสัชนา โดยการปุจฉาวิสัชนา ได้ดำเนินไปด้วยความตื่นเต้น ถ้อยทีถ้อยตอบโต้กันอย่างทันควันเป็นที่ชื่นชมพระราชหฤทัย แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสบพระทัยพระบรมวงศานุวงศ์น้อยใหญ่ ที่โดยเสด็จพระราชกุศลในวาระนั้นทั่วถ้วนทุกพระองค์

เมื่อใกล้จะยุติพระธรรมเทศนาในวันนั้นพระธรรมอุดม(ถึก) ได้แสดงธรรมภาษิตปริศนากระทู้ขึ้นมาโดยฉับพลันว่า “พายเถอะหนาพ่อพาย ตะวันจะสายตลาดจะวาย สายบัวจะเน่า” โดยมิได้คาดการณ์มาก่อนว่า พระธรรมอุดม(ถึก) จะใช้กลจู่โจมในลักษณะเช่นนี้ แต่โดยปฏิภาณอันเฉียบแหลมยิ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) เข้าใจความหมายกระทู้ธรรมของพระสกวาทีได้ทันที และท่านได้วิสัชนาแก้ออกไปทันควันว่า “ก็โซ่ไม่แก้ประแจไม่ไข จะพายไปไหวหรือพ่อเจ้า”

ปัญหาธรรมของพระธรรมอุดม(ถึก) ครั้งนั้นมีความหมายว่า อันชีวิตของมนุษย์นั้นสั้นนัก สมควรที่คนเราเริ่มจะปฏิบัติธรรม ให้เข้าใกล้ฝั่งพระนฤพานเสียโดยด่วน อย่าปล่อยให้ชีวิตล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะพญามัจจุราชไม่คอยท่าผู้ใดและเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้แก้ซึ่งมีความหมายว่า คนเราส่วนมากในทุกวันนี้พยายามแต่เพิ่มพูนกิเลส สังโยชน์ อันเป็นเครื่องร้อยรัดผูกพันตนเองไว้กับชาติภพ มหรรณพสงสาร ดังนั้นจะก้าวเข้าสู่โลกุตรธรรมได้หรือ

ล้างไม้ล้างมือ

การถวายพระธรรมเทศนาแบบปุจฉาวิสัชนาอีกครั้งหนึ่งในพระบรมมหาราชวังระหว่างเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) กับเจ้าคุณพระธรรมอุดม (ถึก) เช่นเคย เกี่ยวกับเรื่องทุกข์ พระธรรมอุดม(ถึก) เป็นพระสกวาที และสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรสี) เป็นพระปรวาที ในตอนนั้นพระธรรมอุดม(ถึก) ปุจฉาว่า “บันดาพระขีณาสพทั้งหลายนั้นหนีทุกข์ได้หรือไม่” เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้วิสัชนาทิ้งไว้เป็นปริศนาไว้ว่า “จะว่าหนีได้ก็หนีได้ หรือนีไม่ได้ก็ได้” จึงเกิดเป็นปัญหาที่จะต้องไล่เลียงกันต่อไป

พระธรรมอุดม(ถึก) “แม้นว่าหนีทุกข์ไม่พ้น หรือดับทุกข์ไม่ได้แล้ว จะขึ้นชื่อได้หรือว่า เป็น พระอรหันต์ขอให้พระคุณเจ้าไขธรรมข้อนี้ให้กระจ่างหน่อยขอรับ”

พระธรรมกิตติ : ทุกข์ สมุทัย อริยสัจจ์ ซึ่งได้แก่ทุกข์ อันเกิดจากสมุทัย คือ ตัณหาอุปาทานในภพชาติ มีกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา เมื่อสรุปแล้วก็คือ ความกำหนัดยินดีในการสืบต่อภพชาติ อันเป็นเหตุให้สัตว์ต้องเวียนว่าย อยู่ในห้วงมหรรณพ ภพสงสารไม่มีที่สิ้นสุด ละเจตสิกทุกข์ ได้แก่ ความโศกเศร้างเสียใจ พิราปร่ำ คร่ำครวญ แม้ความยินดียินร้ายเหล่านี้ สามารถทำลายชีวิตได้ด้วยกำลังของมรรคญาณ เป็นสมุทเฉทปหาน สังสารวัฏฏ์ ก็ขาดสะบั้นลงเหตุแห่งการสืบต่อภาพชาติต่อไปอีกจึงสิ้นสุด คือบรรลุถึงฝั่งพระมหานฤพาน

ส่วนสภาวทุกข์หรือนิพัตติทุกข์ นั้นเป็นทุกข์ที่มีอยู่ประจำอยู่ตามธรรมชาติของสรรพสิ่ง แม้ชีวิตสัตว์ทั้งหลางเกิดแต่กรรม จิต อุตุ และอาหาร เป็นต้น เช่น สัตว์ทั้งหลายย่อมมีความรู้สึกเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ของผัสสะ ตลอดจนการป่วยไข้หรือความรู้สึกหิวอาหารเป็นต้น เหล่านี้เป็นทุกข์ อันพระอรหันต์เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็หนีไม่พ้น เพราะ ขันธื ธาตุ อายตนะ เป็นกายิกทุกข์ ส่วนวิบากกรรมทายาท ซึ่งจะต้องเป็นไป เพราะได้ถือกำเนิดขึ้นมาแล้วต่อเมื่อเบญจขันธ์ ได้แตกทำลายไปในครั้งสุดท้าย คือ พระอรหันต์เข้าสู่ อนุปาทิเสสนิ-พพาน นั้นแหล่ะทุกข์ทั้งปวงก็ดับสิ้นไป เพราะจิตสะอาดปราศจากอาสวะ อันเศร้างหมองมาตั้งแต่ขณะที่เป็นวิสุทธิจิตแล้ว ดังนั้นเมื่อดับเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว เชื้อที่นำไปสู่การเกิดใหม่อีกไม่ม่ชาติภพ ก็สิ้นสุดลง

พระธรรมอุดม(ถึก) : เป็นอันว่า กระผมพอจะเข้าใจตามที่พระคุณเจ้าแสดงมา แต่ใคร่จะเรียนถามต่อไปว่า การปฏิบัติเช่นไรเล่า จึงจะถึง วิสุทธิจิต อันปราศจากอาสวะเครรื่องเศร้างหมองได้

พระธรรมกิตติ : ก็โดยแนวแห่งอริยมรรค อันมีองค์ 8 หรือสรุปแล้ว ก็ตรงกับไตรสิกขานั้นเอง ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา

พระธรรมอุดม(ถึก) : เหตุใดจึงต้องมีศีลสำรวมเสียก่อนแล้ว จึงจะเกิดสมาธิและปัญญา นะพระคุณเจ้า

พระธรรมกิตติ : ศีลที่ว่านี้ คือ ศีลในองค์มรรค ซึ่งเป็นอธิศีล ถ้าหากไม่บริสุทธิ์เสียแล้ว ทั้งสมาธิและปัญญา อันบริสุทธิ์ย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้ เช่นเดียวกันเหมือนการประกอบอาหารให้สะอาดปราศจากสิ่งปฏิกูล ก็ย่อมจะ ต้องล้างไม้ล้างมือ ให้สะอาดเสียก่อน อาหารจึงจะสะอาดประณีตได้

พระธรรมอุดม(ถึก) : การล้างมือนั้นกระผมพอจะเข้าใจ ส่วนการล้างไม้นั้น คืออย่างไรกันนะขอรับ

พระธรรมกิตติ : ล้างไม้คือ การล้างกระหวักกระบวยเครื่องใช้ในการประกอบอาหาร อย่างไรเล่าพระคุณเจ้าผู้เจริญ

เป็นการแสดงถึงปฏิภาณ ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) ว่าไม่ติดขัดในกระบวนการกล่าวแก้แม้จะได้รับการสัพยอกในการใช้ถ้อยคำก็แก้ไปได้ว่าหมายถึงกระจ้าซึ่งเป็นเครื่องมือปรุงอาหารชนิดหนึ่ง เป็นอันว่า การปุจฉาวิสัชนากับพระธรรมอุดม(ถึก) นั้น ถ้าหากเปิดช่องโหว่แม้เพียงเล็กน้อยก็จะถูกท่านแย้งอย่างทันควันทันที แต่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็สามารถแก้ไขได้โดยปฏิภาณ อันเฉียบแหลมทุกครั้ง

การปุจฉาวิสัชนาถึงตอนนี้ สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็ทรางแย้มพระสรวลได้เช่นเคย เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้วก็ออกพระโอษฐ์ว่า “ ขรัวโตนี้สำคัญนัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ก็แก้ไขไปได้ปลอดโปร่งไม่ติดขัดเสียเลยสักครั้ง”

ตลกหัวเหลือง

โดยรูปลักษณ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ (พระธรรมกิตติ) และพระธรรมอุดม(ถึก) พระธรรมกถึกเอกทั้งคู่ ซึ่งเข้าถวายเทศน์ปุจฉาวิสัชนา ในพระบรมมหาราชวังเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและมีความประหลาด แตกต่างกันอยู่ประการหนึ่ง คือ พระธรรมอุดม(ถึก) นั้น มีเกศาบาง ศีรษะค่อนข้างล้านมาก ส่วนเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้นโดยปกตินิยมใช้ว่างนางคำทาตามศีรษะและตามร่างกาย เพื่อบำบัดโรคร้าย ตามแบบฉบับของท่านดังนี้ ตามศีรษะ และเนื้อตัวของท่านจึงมีสีเหลืองคล้ายขมิ้น แต่เมื่อห่มจีวรสีกลักเข้าแล้ว จึงเห็นสีเหลืองเพียงแต่ศีรษะ

อีกครั้งหนึ่งที่พระธรรมกถึกเอกคู่นี้ ได้เข้าถวายปุจฉาวิสัชนา พระธรรมเทศนาต่อพระพักตร์ ล้นเกล้าฯ ร.4 แวดล้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชสำนักผู้ใหญ่ผู้น้อยเผ้าแหน ทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระดำริสัพยอก พระธรรมกถึกเอกสองรูปนี้ หรือ ประการใดไม่อาจทราบได้ชัด แต่ทรงพระราชทานถวายกัณฑ์ พระธรรมเทศนาด้วย สังเกตด้วยพระราชทรัพย์ เพียงสลึงเฟื่องเท่านั้น แล้วให้สังฆการี นำมาตั้งไว้ให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ สังเกตเห็นได้ในระยะใกล้ๆ ส่วน พระธรรมอุดม(ถึก) กำลังดำเนินจุณณีบทอยู่ จึงไม่อาจทันสังเกตเห็นเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นพระสักวา จึงเริ่มอารัมภกถา ดังนี้

พระธรรมกิตติ : นี้แน่ะ !!! พระคุณเจ้าผู้เจริญ ท่านทราบไหนว่า วันนี้พระมหาบพิตรราชสมภารเจ้าทรงพระราชศรัทธา บริจาคพระราชทานถวายกัณฑ์เทศน์แก่เราทั้งสองรูปนี้เป็นมูลปัจจัยเท่าใด

พระธรรมอุดม(ถึก) : กระผมมิทันได้สังเกต เห็นดอกพระคุณเจ้าผู้เจริญ

พระธรรมกิตติ : ทรงพระราชทานถวายเป็นมูล ค่าถึงสลึงเฟื่องเทียวนะ พระคุณเจ้าทราบไหมว่า เหตุใดพระมหาบพิตรราชสมภาพเจ้า ถึงพระราชทานเป็นมูลปัจจัยเท่านี้

พระธรรมอุดม(ถึก) : เอ !!! กระผมระลึกไม่ออกขอรับ เป็นการยากที่เราจะหยังน้ำพระทัยใดๆ ได้ มิใช่หรือขอรับพระคุณเจ้าผู้เจริญ

พระธรรมกิตติ : เช่นนั้นหรือ ก็จะอะไรเสียอีกเล่า พระคุณเจ้านั้นหัวล้านแล้วกระผมหัวเหลือง ก็หัวละเฟื่องสองไพ รวมกันสองหัวก็ตกสลึงเฟื่องพอดี

ในหลวงซึ่งทรงตั้งพระทัยสดับวาจาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อยู่แล้วไม่อาจกลั้นความขบขันพระทัยได้ ก็ทรางพระสรวลเสียก๊ากใหญ่ บรรดาเจ้านายทั้งฝ่ายนอกฝ่ายใน และข้าราชการที่เฝ้าพระยุคลบาทอยู่ ณ ที่นั้น ต่างก็ทรงพระสรวลและหัวเราะกันอย่างเต็มกลั้นเป็นเสียงกึกก้องทั้งท้องพระโรงจนเกือบจะฟังพระธรรมเทศนากันต่อไปไม่ไหว แต่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ยังอยู่บนธรรมาสน์ มีสีหน้าและท่าทางสำรวมเป็นปกติอยู่เหมือนว่าไม่ได้ยินคำกล่าวของท่านเลย ส่วนพระธรรมอุดม (ถึก) นั่นก็อยู่ในฐานะลำบากยิ่ง เพราะต้องพยายามข่มอารมณ์ระงับความขบขันอย่างหนัก ต้องเสียเวลาใปนานชั่วครู่กว่าการแสดงพระธรรมเทศนาจะดำเนินต่อไปได้