ประวัติพระมหาถึก เปรียญ 8

พระมหาถึก เปรียญ 8 บิดาชื่อทอง มารดาชื่อเสน ได้รับพระราชทานแต่งตั้ง เป็น พระศรีวิสุทธิวงศ์ (ถึก ป. 8) วัดพระเชตุพนฯ ชาติภูมิเดิมไม่ปรากฏ เป็นเปรียญเอก ในรัชกาลที่ 2 เป็นพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียง ได้รับสมณศักดิ์คู่กับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (จี่ ป. 9) วัดประยูรวงศาวาส ซึ่งเป็นเปรียญเอกในคราวเดียวกัน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (จี่ ป.9) เดิมอยู่ที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ)

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรางเมตตาทั้งสองรูป เมื่อคราวจะทรงตั้ง สมเด็จพระวันรัต(ด่อน) วัดสระเกศ เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในปีมะเมีย พ.ศ. 2365 โปรดให้คิดราชทินนามพระราชาคณะขึ้นใหม่ โดยทรางตั้งพระมหาจี่ ป.9 วัดราชบูรณะ เป้นพระอมรโมลี เป็นองค์แรก ทรงตั้งพระมหาถึก ป.8 วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระศรีวิสุทธิวงศ์ ทั้ง 2 องค์นี้ ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ควบคู่เสมอกันทุกคราว

ถึงรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2374 ปีมะโรง ทรงตั้ง พระศรีวิสุทธิวงศ์ (ถึก ป. 8) เป็นพระราขาคณะผู้ใหญ่ที่ พระเทพกระวี ในคราวเดียวกันนั้นเองทรงตั้งพระอมรโมลี (จี่ ป.9) เป็นพระเทพโมลี

ต่อมาถึงปี พ.ศ. 2386 ปีเถาะ ทรงเลื่อนสมณศักดิ์ พระเทพกระวี (ถึก ป.8) เป็น พระพรหมมุนี คราวเดียวกันก็เลื่อน พระเทพโมลี (จี่ ป.9) เป็น พระธรรมไตรโลกาจารย์

ถึงรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394 วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 9 ปีกุน (วชิรญาโณภิกขุ) รัชกาลที่ 4 ทรงลาผนวช 4 เมษายน 2394 ทรงเลื่อนสมณศักดิ์ พระพรหมมุนี (ถึก ป.8) เป็น พระธรรมอุดม และพระธรรมไตรโลกาจารย์ (จี่ ป.9) เป็น พระพิมลธรรม มีสำเนาที่ตั้ง ดังนี้

ให้เลื่อนพระพรหมมุนี ขึ้นเป็น พระธรรมอุดม บรมญาณอดุลย์สุนทรนายก ตรีปิฎกคุณาสฃลังการภูษิต ทักษิณทิศคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิตในเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรหมาวิหารพระอารามหลวง นิจภัตร 4 ตำลึง 3 บาท มีภานุศักดิ์ควรตั้งฐานานุกรมได้ 8 รูป คือ

1. พระครูปลัดมีนิจภัตรเดือนละ 2 ตำลึง

2. พระครูวินัยธร

3. พระครูวินัยธรรม

4. พระครูสัททวิมล

5. พระครูมงคลวิลาส

6. พระครูสมุห์

7. พระครูใบฏีกา

8. พระครูสังฆรักขิต

พระธรรมอุดม (ถึก ป. 8) วัดพระเชตุพนฯ ได้มรณภาพ ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2396 รัตนโกสินทร์ ศก 72 รวมอายุได้ 58 ปี ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกอันดับหนึ่ง ตั้งอยู่ เลขที่ 2 แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร